Home » รู้จักกับ DI Box อุปกรณ์สำคัญสำหรับงานเครื่องเสียง

รู้จักกับ DI Box อุปกรณ์สำคัญสำหรับงานเครื่องเสียง

by Larry Andrews
33 views
DI Boxes

DI Box พัฒนาขึ้นในสตูดิโออย่าง Motown และ United Sound Systems ในช่วงทศวรรษ 1960 เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเชื่อมต่อเครื่องดนตรีไฟฟ้ากับอุปกรณ์ในสตูดิโอ สร้างขึ้นเพื่อจัดการกับความไม่ตรงกันของประเภทสัญญาณระหว่างปิ๊กอัพกีตาร์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในสตูดิโอ 

วัตถุประสงค์หลักของ DI Box ในปัจจุบันคือการเปลี่ยนสัญญาณอิมพีแดนซ์สูงที่ไม่สมดุลให้เป็นสัญญาณอิมพีแดนซ์ต่ำที่สมดุล การเปลี่ยนแปลงนี้ช่วยให้กีตาร์และเบสสามารถเชื่อมต่อโดยตรงกับปรีแอมป์ไมโครโฟนหรือส่งสัญญาณผ่านสายเคเบิลยาวได้โดยไม่สูญเสียคุณภาพเสียงหรือระดับเสียง เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากทั้งการบันทึกเสียงสตูดิโอ หรือแม้กระทั่งเครื่องเสียงงานคอนเสิร์ต ก็ใช้ DI Box เพื่อสร้างความสมดุลให้กับเสียงเช่นเดียวกัน

Passive DI Box

DI Box ยุคแรกๆ เช่น Wolfbox โดย Ed Wolfrum และกล่อง DI แบบพาสซีฟสมัยใหม่ใช้ balun transformer วงจรนี้มีขดลวดแยกสำหรับอินพุตและเอาต์พุต ช่วยป้องกันปัญหาแรงดันไฟฟ้าทั้งจากกราวด์และปัญหาอื่น ๆ

ซึ่งหมายความว่า DI Box แบบนี้ทำให้สัญญาณเข้ากันได้ดีกับปรีแอมป์ไมโครโฟนมาตรฐานและไม่มีเสียงจี่ เสียงช็อต Passive DI เหมาะที่สุดสำหรับเครื่องดนตรีที่มีเอาท์พุตที่รุนแรง เสียงดัง ได้รับความนิยมเนื่องจากมีต้นทุนต่ำและทนทาน

Active DI Box

Active DI Box แตกต่างจาก Passive เนื่องจากมีปรีแอมพลิฟายเออร์ ปรีแอมป์นี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อเพิ่มสัญญาณอ่อนจากปิ๊กอัพบางตัว DI Box แบบนี้มีประโยชน์สำหรับการวิ่งสายเคเบิลยาว Active DI สมัยใหม่มักมีฟีเจอร์ขั้นสูงและสามารถรองรับสัญญาณได้มากกว่า Passive ทำให้เหมาะสำหรับคีย์บอร์ดและเครื่องดนตรีที่มีปิ๊กอัพที่หลากหลาย

Active DI Box ต้องใช้พลังงาน ซึ่งอาจมาจากแบตเตอรี่ แหล่งจ่ายไฟ หรือไฟ Phantom 48V โดยปกติแล้วจะมีราคาแพงกว่า DI แบบพาสซีฟเนื่องจากความซับซ้อนของระบบการทำงาน

สิ่งที่ต้องมองหาใน DI Box

DI Box ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นแบบพาสซีฟหรือแอคทีฟ มีฟีเจอร์และโมเดลให้เลือกมากมาย จนอาจจะทำให้เลือกไม่ถูกว่าจะซื้อแบบไหนดี ต่อไปนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้สำหรับการเลือก DI Box

ช่องสัญญาณที่หลากหลาย

DI Box แบบช่องสัญญาณเดียวเป็นเรื่องปกติ แต่ก็มีเวอร์ชันและโมเดลที่มาพร้อมกับช่องสัญญาณหลายช่องให้เลือกด้วย DI Box แบบติดตั้งบนแร็ค ซึ่งมักใช้บนสเตจขนาดใหญ่ มักจะมีมากกว่าแปดช่องสัญญาณขึ้นไป

DI Box แบบสองช่องสัญญาณเหมาะสำหรับคีย์บอร์ด ในขณะที่ DI Box บางรุ่นอาจจะเหมาะสำหรับคอมพิวเตอร์และเครื่องเล่นมีเดียทำให้การเชื่อมต่อแล็ปท็อปและอุปกรณ์เคลื่อนที่เข้ากับระบบ PA เป็นเรื่องง่าย

การแยกสัญญาณ

คุณสมบัตินี้จะแยกสัญญาณขาเข้า โดยส่งส่วนหนึ่งไปยังเครื่องขยายเสียงบนเวที และอีกส่วนหนึ่งส่งไปยังระบบ PA มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้เล่นเบสที่ใช้แอมพลิฟายเออร์สำหรับเสียงบนเวที ซึ่งจะช่วยลดระดับเสียงบนเวทีโดยรวม Active DI บางตัวมีบัฟเฟอร์บายพาสสำหรับสายเคเบิลที่ยาวหรือสำหรับเอฟเฟคเหยียบ

Ground Lift 

DI Box สามารถลดเสียงรบกวนจากสัญญาณที่ไม่สมดุลได้ แต่สัญญาณที่สมดุลยังสามารถมีเสียงฮัมหรือเสียงกระหึ่มจากกราวด์ได้ สวิตช์ Ground Lift จะตัดการเชื่อมต่อ DI Box ออกจากกราวด์ของปรีแอมป์ไมโครโฟน เพื่อหยุดเสียงรบกวนนี้

Pad 

แพดใน DI Box จะลดสัญญาณขาเข้าตามจำนวนที่ตั้งไว้ เพื่อป้องกันการโอเวอร์โหลดจากปิ๊กอัพเอาต์พุตสูงหรืออุปกรณที่มีความซัลซ้อนน เช่น คีย์บอร์ด

Polarity Reverse 

มีชื่อเรียกอีกอย่างว่าสวิตช์ “เฟส” ซึ่งจะเปลี่ยนขั้วของสัญญาณ สามารถแก้ไขสายเคเบิลที่เดินสายไม่ถูกต้อง จัดตำแหน่งสัญญาณและไมโครโฟน ป้องกันสัญญาณย้อนกลับ และมีประโยชน์หากมิกเซอร์ไม่มีฟีเจอร์นี้

โดยรวมแล้ว กล่อง DI มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดการและปรับปรุงคุณภาพของสัญญาณเสียงในสภาพแวดล้อมทางดนตรีต่างๆ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

แหล่งรวมความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ที่คุณสามารถอ่านได้ฟรีและเติมเต็มความรู้ใหม่ได้ทุกวัน!

@2023 – PenciDesign. All Right Reserved. Designed and Developed by Singjones